Detail_TH

หลักการและเหตุผล .

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 "งานวิชาการรับใช้สังคม"
ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565

ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

(รูปแบบออนไลน์)

          การวิจัยเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาหรือต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอนและสถาบัน นอกจากนั้นผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเล็งเห็นความสำคัญของภารกิจด้านการวิจัย และมีนโยบายส่งเสริมให้อาจารย์เพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัย การผลิตผลงานวิชาการต่าง ๆ มีการสนับสนุนให้อาจารย์ส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง

          นับตั้งแต่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีการกำหนดให้ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมเป็นผลงานประเภทหนึ่งที่สามารถเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ ซึ่งผลงานวิชาการรับใช้สังคม เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือท้องถิ่น ที่เกิดขึ้นโดยใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชา โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินเป็นรูปธรรมได้โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านที่เกี่ยวกับชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง คุณภาพชีวิต หรือสุขภาพ หรือเป็นผลงานในรูปแบบอื่นที่สามารถใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน ทำให้มีอาจารย์และนักวิชาการตลอดจนนักวิจัยสนใจผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมมากขึ้น

          มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึงกำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 “งานวิชาการรับใช้สังคม” เพื่อกระตุ้นให้คณาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักวิจัยและนักวิชาการต่างสถาบัน

logo HCU

หลักการและเหตุผล

          การวิจัยเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาหรือต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอนและสถาบัน นอกจากนั้นผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเล็งเห็นความสำคัญของภารกิจด้านการวิจัย และมีนโยบายส่งเสริมให้อาจารย์เพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัย การผลิตผลงานวิชาการต่าง ๆ มีการสนับสนุนให้อาจารย์ส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง

          นับตั้งแต่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีการกำหนดให้ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมเป็นผลงานประเภทหนึ่งที่สามารถเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ ซึ่งผลงานวิชาการรับใช้สังคม เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือท้องถิ่น ที่เกิดขึ้นโดยใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชา โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินเป็นรูปธรรมได้โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านที่เกี่ยวกับชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง คุณภาพชีวิต หรือสุขภาพ หรือเป็นผลงานในรูปแบบอื่นที่สามารถใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน ทำให้มีอาจารย์และนักวิชาการตลอดจนนักวิจัยสนใจผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมมากขึ้น

          มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึงกำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 “งานวิชาการรับใช้สังคม” เพื่อกระตุ้นให้คณาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักวิจัยและนักวิชาการต่างสถาบัน

logo HCU

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในการเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จากสถาบันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  2. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิด วิธีการปฏิบัติ และประสบการณ์ในการวิจัย
  3. เพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายนักวิจัยภายในประเทศและต่างประเทศ
logo HCU

เจ้าภาพหลัก

  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

เจ้าภาพร่วมระดับชาติ

  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เจ้าภาพร่วมระดับนานาชาติ

  • Holy Angel University (Philippines)
  • Angeles University Foundation (Philippines)
  • STI West Negros University (Philippines)
  • Galuh University (Indonesia)
  • Duta Bangsa University (Indonesia)
  • Tianjin University of Traditional Chinese Medicine (PR China)
logo HCU

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้าร่วมประชุม 150 คน ประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและบุคคลที่สนใจทั่วไป
logo HCU

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชนในระดับชาติ และนานาชาติ
  2. เป็นเวทีให้นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้ที่สนใจได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และแนวคิดในการวิจัย
  3. ผู้เข้าร่วมประชุมมีโอกาสในการสร้างเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการในการดำเนินการความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต