รายละเอียด .

การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ ๑๐
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

"งานวิชาการรับใช้สังคม"

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566 เวลา 08.00 – 16.30 น.
[รูปแบบออนไลน์บน Zoom]

หลักการและเหตุผล

          การวิจัยเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาหรือต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอนและสถาบัน นอกจากนั้นผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเล็งเห็นความสำคัญของภารกิจด้านการวิจัย และมีนโยบายส่งเสริมให้อาจารย์เพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัย การผลิตผลงานวิชาการต่าง ๆ มีการสนับสนุนให้อาจารย์ส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง

67e05704-409c-4aa3-954a-cdc5f087a7e6

          นับตั้งแต่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีการกำหนดให้ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมเป็นผลงานประเภทหนึ่งที่สามารถเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ ซึ่งผลงานวิชาการรับใช้สังคม เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือท้องถิ่น ที่เกิดขึ้นโดยใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชา โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินเป็นรูปธรรมได้โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านที่เกี่ยวกับชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง คุณภาพชีวิต หรือสุขภาพ หรือเป็นผลงานในรูปแบบอื่นที่สามารถใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน ทำให้มีอาจารย์และนักวิชาการตลอดจนนักวิจัยสนใจผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมมากขึ้น

          มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึงกำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10  “งานวิชาการรับใช้สังคม” เพื่อกระตุ้นให้คณาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักวิจัยและนักวิชาการต่างสถาบัน

วัตถุประสงค์

  1.  เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในการเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จากสถาบันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  2. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิด วิธีการปฏิบัติ และประสบการณ์ในการวิจัย
  3. เพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายนักวิจัยภายในประเทศและต่างประเทศ
DSC_5863

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
เจ้าภาพหลัก

  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ   

เจ้าภาพร่วมระดับชาติ

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

  • มหาวิทยาลัยบูรพา

  • มหาวิทยาลัยทักษิณ

เจ้าภาพร่วมระดับนานาชาติ

  • STI West Negros University (Philippines)
  • Galuh University (Indonesia)
  • Angeles University Foundation (Philippines)
  • Holy Angel University (Philippines)
  • Tarlac State University (Philippines)
  • Saint Louis University (Philippines)
  • Tianjin University of Traditional Chinese Medicine (PR China)
  • University of Saint Louis (Philippines)
  • Saint Mary’s University (Philippines)
  • University of La Salette (Philippines)
  • WCC Aeronautical &​ Technological College (Philippines)

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้าร่วมประชุม 150 คน ประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและบุคคลที่สนใจทั่วไป

DSC_5792

หัวข้อในการนำเสนอผลงานวิจัย
5 สาขา

ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์

ประกอบด้วย แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด จิตวิทยาคลินิก ทัศนมาตรศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ รังสีเทคนิค สัตวแพทย์ เทคนิคการสัตวแพทย์ สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์

 ประกอบด้วย ภาษาศาสตร์และวรรณคดี ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ สังคมวิทยา ประชากรศาสตร์ นิเทศศาสตร์ หลักสูตรและการสอน การวัดและประเมินผล บริหารการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนว

ประกอบด้วย บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ พาณิชศาสตร์ การบัญชี  

ประกอบด้วย จีนศึกษา การแพทย์แผนจีน จีนธุรกิจ ภาษาและวัฒนธรรมจีน

1123726
DSC_5874

รูปแบบการนำเสนอ

การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (e-Poster Presentation) ตาม Template ที่กำหนด

ใช้เวลาในการนำเสนอไม่เกิน 15 นาที ซักถาม 5 นาที (รวมไม่เกิน 20 นาที)

  1. บทความวิจัยที่จะนำเสนอต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

  2. บทความวิจัยที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว (Peer Review) จะได้นำเสนอผลงานด้วยวาจาหรือแบบโปสเตอร์ และหากผลงานมีคุณภาพระดับดี จะตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Proceedings)

ติดต่อสอบถาม .

สำนักพัฒนาวิชาการ

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

18/18 ถ.เทพรัตน กม.18 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี

จังหวัดสมุทรปราการ 10540 

ติดต่อ: คุณจรัชปาณ คงทอง, คุณรจนกร กาหลง

  • โทร: 0-2312-6300 - 79 ต่อ 1511, 1136, 1422
  • E-mail: conference.hcu@gmail.com