Detail-2025-TH
โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - จีน
วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2568
ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
หลักการและเหตุผล
การวิจัยมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับมนุษยชาติ การวิจัยนับเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาหรือต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอนและสถาบัน นอกจากนั้นผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเล็งเห็นความสำคัญของภารกิจด้านการวิจัย และมีนโยบายส่งเสริมให้อาจารย์เพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัย การผลิตผลงานวิชาการต่าง ๆ มีการสนับสนุนให้อาจารย์ส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง
.
.
นับตั้งแต่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้มีการกำหนดให้ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมเป็นผลงานประเภทหนึ่งที่สามารถเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ ซึ่งผลงานวิชาการรับใช้สังคมนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคมในยุคปัจจุบัน การส่งเสริมงานวิชาการที่มุ่งเน้นการรับใช้สังคม เป็นแนวคิดที่สำคัญในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยการนำเอาองค์ความรู้และงานวิจัยไปประยุกต์ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การประชุมนี้จะเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนแนวคิด เพื่อส่งเสริมให้งานวิชาการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติจะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานจากหลากหลายประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงานด้านวิชาการรับใช้สังคม ตลอดจนจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิชาการรุ่นใหม่ และส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการทำงานด้านวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมในอนาคต
ในโอกาสที่ครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – จีน นับเป็นโอกาสอันดีในการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างไทย-จีน และเป็นการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน ความเข้าใจ และความร่วมมือในหลากหลายมิติ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึงกำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 “งานวิชาการรับใช้สังคม” เพื่อกระตุ้นให้คณาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย ตลอดจนมีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ และเป็นการพัฒนางานวิจัยที่สูงขึ้นต่อไปอีก ทั้งยังเป็นเวทีทางวิชาการสำหรับนักวิจัยและนักวิชาการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการวิจัยต่างสถาบันต่อไป
.

วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในการเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จากสถาบันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิด วิธีการปฏิบัติ ประสบการณ์ในการวิจัย ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดี
เพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายนักวิจัยภายในประเทศและต่างประเทศ เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : เจ้าภาพหลัก
- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เจ้าภาพร่วมระดับชาติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยทักษิณ
เจ้าภาพร่วมระดับนานาชาติ
- Angeles University Foundation
- Holy Angel University
- Lorma Colleges
- Saint Louis College
- Saint Louis University
- STI West Negros University
- University of Saint Louis Tuguegarao
- Calayan Educational Foundation, Inc.
- Lyceum-Northwestern University
- University of Perpetual Help Dr. Jose G. Tamayo Medical University
- Tianjin University of Traditional Chinese Medicine (PR China)
- Universitas Duta Bangsa (Indonesia)
- Urdaneta City University
- Pangasinan State University
- Manuel S. Enverga University Foundation
- University of Luzon
- Tomas Claudio Colleges
- World Citi Colleges
.
.
หัวข้อในการนำเสนอผลงานวิจัย 5 สาขา
ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วย แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด จิตวิทยาคลินิก ทัศนมาตรศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ รังสีเทคนิค สัตวแพทย์ เทคนิคการสัตวแพทย์ สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
(Arts, Humanities, Social Sciences and Education)
ประกอบด้วย ภาษาศาสตร์และวรรณคดี ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ สังคมวิทยา ประชากรศาสตร์ นิเทศศาสตร์ หลักสูตรและการสอน การวัดและประเมินผล บริหารการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนว
ประกอบด้วย บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ พาณิชศาสตร์ การบัญชี
จีนศึกษา การแพทย์แผนจีน
รูปแบบการดำเนินการ
(Keynote speaker)
(Oral presentation) ใช้เวลาในการนำเสนอไม่เกิน 15 นาที ซักถาม 5 นาที (รวมไม่เกิน 20 นาที)
(Poster presentation) ตาม Template ที่กำหนด

.
ลักษณะบทความวิจัย การนำเสนอและ
การตีพิมพ์เผยแพร่
- บทความวิจัยที่จะนำเสนอต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
- บทความวิจัยที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว (Peer Review) จะได้นำเสนอผลงานด้วยวาจาหรือแบบโปสเตอร์ และหากผลงานมีคุณภาพระดับดี จะตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Proceedings)
- การนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) ใช้เวลาในการนำเสนอไม่เกิน 15 นาที ซักถาม 5 นาที (รวมไม่เกิน 20 นาที)
- การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ตาม Template ที่กำหนด